รู้จักโบรชัวร์ (Brochure)
ความจริง โบรชัวร์ก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง แต่หลายคนก็มักเรียกงานบางรูปแบบว่าเป้นโบรชัวร์เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว, ไดเรคเมลล์ หรือแคตตาล็อค (อาจขนาดเล็กหรือจำนวนหน้าไม่มากนัก)

การขายสินค้า แม้จะมีวิธีการที่สะดวกมากขึ้นตามช่องทางออนไลน์ในปัจจุบัน แต่ช่องทางสื่อสิ่งพิมพ์บางชนิด อาจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์และความรู้สึกต่อสินค้าได้ดีกว่าช่องทางออนไลน์ที่มีมากจนเกินการกลั่นกรอง สิ่งพิมพ์ประเภทโบรชัวร์ สำหรับสินค้าหลายชนิด จึงจะยังเป็นความจำเป็นหรือเป็นทางเลือกที่ยังมีคุณค่าอยู่
สิ่งพิมพ์แนวไกล้เคียงกัน เช่น ใบปลิว (Leaflet), ไดเรคเมลล์ (Directmail), แคตตาล็อค (Catalog) ต่างเป็นสื่อการขายเหมือนกัน แตกต่างกันที่รูปแบบและวิธีการใช้งาน ดังนี้
ใบปลิว (Leaflet)
งานพิมพ์แบบหน้าเดียว หรือหน้าหลัง ไม่มีการพับ สำหรับแจกมือ หรือวางไว้ในที่ที่กลุ่มเป้าหมายจะหยิบได้




ไดเรคเมลล์ (Directmail)
หากมีรายชื่อและที่อยู่ของลูกค้าในมือ เราสามารถส่งสื่อการขายทางไปรษณีย์ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และหวังผลได้มากที่สุด สื่อชนิดนี้จึงมักทำอย่างเต็มรูปแบบ อาจทำเป็นซองในตัว หรือพับแล้วบรรจุซองไปรษณีย์ก็ได้



โบรชัวร์ (Brochure)
สื่อการขายที่สามารถออกแบบได้ไม่จำกัดรูปแบบเช่นกัน ผ่านการแจก หรือวางไว้ให้เป้าหมายได้หยิบไป





แคตตาล็อค (Catalog)
กรณีที่มีสินค้าให้เลือกเป็นจำนวนหลายชิ้น มักสร้างเป็นแคตตาล็อค โดยสามารถอธิบายสินค้าแต่ละชิ้นหรือแต่ละรุ่นได้แบบแยกส่วนกัน จำนวนหน้าอาจมากเป็นพิเศษตามจำนวนสินค้าได้ จนถึงคล้ายหนังสือเล่มนึงเลยทีเดียว




สิ่งพิมพ์เหล่านี้ ยังสามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย และคาดหวังกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่อออนไลน์ในบางวิธี หากเลือกที่จะใช้เป็น
7 ข้อควรรู้ ก่อนคิดทำโบรชัวร์
ผมรวบความข้อควรรู้ สำหรับใครที่มีสินค้าหรือบริการ และคิดจะทำโบรชัวร์นำเสนอสินค้านั้นๆ ครับ เพื่อทำให้คุณทำงานกับนักออกแบบได้ง่ายขึ้น มาดูกันเลยครับ
- จะขายอะไร
สิ่งสำคัญของสิ่งพิมพ์ หรือสื่อโฆษณา คือ สินค้าที่จะขาย สินค้านั้นคืออะไร สิ่งของ, อาหาร, เครื่องใช้ หรืออาจะเป็นบริการ เช่น ร้านนวด, คลินิคทำฟัน, สปา เมื่อเรารู้ว่า สินค้าจะขายอะไร ก็ต้องหาจุดเด่นของสินค้ามานำเสนอ หากสินค้านั้น มีจุดเด่นที่แตกต่างจากของคู่แข่งอยู่แล้ว ก็ง่ายที่จะหาจุดนำเสนอ แต่หากสินค้าเป็นแบบทั่วๆ ไป ไม่มีจุดไหนที่ดีไปกว่าคู่แข่ง การออกแบบก็อาจจำเป็นต้องสร้างจุดเด่นนั้นให้กับสินค้านั้นๆ เช่น หน้าตา หรือการสร้างคอนเซ็ปท์เพิ่มเติมให้กับสินค้านั้นไป - กำหนดรูปแบบ
รูปแบบของโปรชัวร์ สามารถทำได้หลากหลายแนวทาง ทั้งแบบทั่วไปราคาประหยัด ที่ต้องดูขนาด (อาจใช้จำนวนพิมพ์ที่ต้องการเพื่อเลือกว่า ควรพิมพ์ลงด้วยขนาดตัด 2, ตัด 4 หรือขนาดอื่นๆ (ตัวอย่างคือขนาดของแท่นพิมพ์ที่มีหลายขนาด) เพราะขนาดของแท่นพิมพ์ มีผลต่อการทำเพลท และมีผลต่อราคา เมื่อนำราคาเพลทมาหารด้วยจำนวนพิมพ์)) เทคนิคการพิมพ์ (การเคลือบยูวี, เคลือบด้าน, เคลือบเฉพาะจุด, การพิมพ์สีพิเศษ, การ Diecut, การประกอบ) ชนิดกระดาษ (กระดาษสำหรับพิมพ์งาน มีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบ หลายราคา และต้องเลือกความหนาที่ต้องการด้วย ซึ่งเป็นราคาที่สร้างให้ราคาทุนถูกหรือแพงได้ชัดเจนที่สุด) หรือต้องการงานที่หรูหราราคาแพง ก้อาจต้องมองข้ามเรื่องราคา ไปหาเทคนิคการพิมพ์ที่สูงขึ้น กระดาษที่ดีกว่า หรือการพับ ที่ดูแตกต่างออกไปกว่า - การออกแบบ
เมื่อเราทราบจุดขาย หรือกำหนดจุดขายให้กับสินค้า ทิศทางการออกแบบนั้น ก็ควรบ่งชี้ไปที่จุดขายนั้น และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก บางครั้ง จุดขายหรือความต้องการที่จะนำเสนออาจมีหลายจุด หลายหัวข้อ อาจต้องเรียงความสำคัญเป็น 1, 2, 3 ให้ได้ก่อน เพื่อการนำเสนอที่เป็นเอกภาพ และนำจุดขายหรือการนำเสนอเรื่องอื่นๆ เป็นตัวรองลงมา แม้แต่การออกแบบบางสินค้า ที่มีสินค้าหลายชิ้นในนั้น ก็อาจต้องเรีบงลำดับความสำคัญไล่เรียงกันมา
เทคนิคอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมักเป้นที่ถกเถียงกันระหว่างนักออกแบบและลูกค้าคือ การให้ความสำคัญกับจุดเด่น โดยความต้องการที่จะอยากให้ทุกจุด เช่น ภาพสินค้า, ราคา, ประโยชน์ใช้สอย หรือโปรโมชั่น เด่นให้หมด แต่เมื่อทุกอย่างนั้นเด่นหมด แต่รวมกันอยู่ในหน้าเดียวกัน ต่างก็จะแย่งกัน จนไม่สามารถดึงดูดสายตาให้ผู้อ่านมองได้ว่า อะไรก่อนหรือหลัง - เนื้อหา
เมื่อนักออกแบบรู้จักจุดขายแต่ความสำคัญของสิ่งที่ต้องนำเสนอ สิ่งสำคัญต่อมาคือ เนื้อหา ของสารที่ต้องการนำเสนอ แน่นอนว่า คนอ่านมักไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ ยากๆ หรือเป็นศัพท์เฉพาะ (เหมือนที่ผมอธิบายเรื่องเทคนิคการพิมพ์ข้างบน) แต่ต้องการความเข้าใจ ความง่าย และการเห็นภาพสินค้าที่ชัดเจน (หมายถึงเห็นถึงคุณค่าของสินค้า) ดังนั้น หากสินค้าไม่มีข้อมูลทางเทคนิคหรือทางวิชาการที่จำเป็น เนื้อหาก็อาจเป็นเพียงการบรรยายให้เห็นภาพ เห็นประโยชน์ และสร้างความต้องการเท่านั้นก็พอ - ให้ภาพเล่าเรื่อง
ภาพสินค้าที่ชัดเจน สวยงาม ผ่านการถ่ายและตกแต่งมาอย่างดี ประกอบกับกราฟิกอื่นๆ ที่เพิ่มเติมลงไปในโบรชัวร์ การเลือกสี เลือก font หรือลวดลายที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนความหมายของสินค้าได้ดี หรือรูปแบบการจัดวางที่สามารถสื่อถึงภาพลักษณ์ของสินค้าได้ ก็จะมีส่วนช่วยให้สินค้าดูดีและน่าซื้อหามากกว่าคำบรรยายทางเทคนิคเสียด้วยซ้ำ (เว้นแต่สินค้าบางประเภท ที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องได้รับข้อมูลทางเทคนิค) - การปรับเพิ่ม-ลด ตามความควรและความจำเป็น
บางครั้ง สิ่งพิมพ์เพียงชิ้นเดียว อาจไม่สามารถให้ข้อมูลทุกอย่างได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หลักที่ต้องการ ซึ่งจะต้องนำมาคิดเป็นอันดับแรก สิ่งเหล่านั้น อาจต้องใช้การอธิบายเพิ่มเติม, การสร้างใบเสนอราคา (หากสินค้านั้นมีราคาไม่แน่นอน), หรือการสร้างสิ่งพิมพ์ชนิดอื่นเพิ่มเติมประกอบไปด้วย - โอกาสและจังหวะในการสร้างงาน หรือการแพร่กระจายงานออกไป
สินค้าบางชนิด มีจังหวะที่เหมาะสมในการนำเสนอออกสู่ท้องตลาด หากเลือกเวลาที่เหมาะสม ในตลาดอาจมีความต้องการสินค้าชนิดนี้สูง หรือเห็นช่องว่างในตลาดที่ยังไม่มีคู่แข่ง จึงควรเสนอออกไป
สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องตายตัวนะครับ งานออกแบบก็เป็นงานศิลปะชนิดนึง ที่เราอาจเพิ่มลดอะไรได้ตามความเหมาะสม และเห็นสมควร แต่เมื่อคุณทราบคร่าวๆ ไว้ในใจแล้วว่า ก่อนคิดจะทำโบรขัวร์หรือสิ่งพิมพ์ใดๆ เพื่อขายสินค้า คุณต้องคิดอะไรไว้บ้าง และต้องเตรียมอะไรไว้บ้าง การจะมีโบรชัวร์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่ต้องการก็จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
เราเป็นนักออกแบบที่มีประสบการณ์ในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 20 ปี นับตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบรุ่นแรกๆ จนวิวัฒนาการมาถึงยุคที่การแสดงผลการออกแบบผ่านจอมือถือเริ่มมีให้เห็นมากกว่าสิ่งพิมพ์เช่นดังทุกวันนี้ (เราก็สามารถทำได้นะ) คุณอยากให้เราทำอะไรล่ะ
• Logo | โลโก้ธุรกิจ, โลโก้หน่วยงาน, โลโก้สินค้า, โลโก้กลุ่มเฉพาะทาง มีรูปแบบและระดับราคาให้คุณเลือกได้ทุกความต้องการ
• Stationery | นามบัตร (รับเฉพาะร่วมกับ stationery อื่นๆ), หัวจดหมาย, ซองจดหมาย, ใบเสร็จ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• Corporate Identity | นำโลโก้มาขยายต้องเป็นการสร้างลักษณะจำเพาะขององค์กร, สร้างแนวทางเฉพาะตัวให้กับองค์กร
• Card | การ์ดเกี่ยวกับสินค้าหรือองค์กร เช่นการ์ดอวยพร, การ์ดปีใหม่, หรือแนวคูปอง
• Advertising (Magazine, Newspaper) | โฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งในนิตยสารต่างๆ จนถึงโฆษณาในหนังสือพิมพ์
• Brochure | โบรชัวร์, แผ่นพับในรูปแบบต่างๆ ด้วยเทคนิคและรูปแบบไม่จำกัด
• Leaflet | ใบปลิวต่างๆ
• Catalog | แคตตาล็อคสินค้า บ้าน, รถยนต์, และสินค้าทุกประเภท
• Directmail | สื่อการขายแบบส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย
• Manual Book | หนังสือคู่มือต่างๆ เช่น คู่มือการใช้สินค้า
• Newsletter | วารสารประจำเดือน, รายปักษ์ หรือรายปี สำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่จะมีแจกให้เพื่อแจ้งกิจกรรมต่างๆ
• Company Profile | อาจเป็นทั้งรูปเล่มหรือแผ่นพับจำนวนไม่กี่หน้า เพื่อเผยแพร่ลักษณะ หรือผลงานต่างๆ ขององค์กร
• Annual Report | รายงานประจำปี สำหรับบริษัทมหาชน
• Calendar | ปฏิทินที่สามารถเลือกรูปแบบและควบคุมราคาได้
• Label | ฉลากสินค้า ทั้งรูปแบบพิมพ์สติกเกอร์ออฟเซ็ตจำนวนมาก หรือพิมพ์สติกเกอร์จำนวนน้อย
• Package | ตั้งแต่ลวดลายของแพคเกจห่อหุ้มสินค้า ไปจนถึงแพคเกจนอกหรือกล่องสินค้า
• POP, X Stand, J Flag, Banner | งานโฆษณา ณ จุดขายในรูปแบบต่างๆ
• Sticker | สามารถทำได้ตั้งแต่สติ๊กเกอร์โลโก้สินค้า,ฉลากสินค้า ไปจนถึงสติกเกอร์สำหรับติดตั้งตามอาคาร หรือป้ายขนาดใหญ่
รับออกแบบ #graphic #GraphicDesign #Logo #CorporateIDentity #brochure #directmail #leaflet #calendar #banner #printing #offset #inkjet #sticker #StickerDieCut #งานกราฟิก #ออกแบบโลโก้ #ออกแบบโบรชัวร์ #ออกแบบแผ่นพับ #ออกแบบไดเรคเมลล์ #ออกแบบงานโฆษณา #ออกแบบแบนเนอร์ #ออกแบบงานลงfacebook #ออกแบบงานลงlineofficial #ออกแบบสิ่งพิมพ์ทุกชนิด #รับทำงานสติกเกอร์ไดคัท #AllInOneSevice